วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Hydraulic Seal



ซีลและแพ็กกิ้งกับระบบไฮดรอลิก
เป็นที่รู้กันดีอยู่ว่าระบบไฮดรอลิกนั้นทำงานโดยใช้ของเหลวคือน้ำมันไฮดรอลิกเป็นตัวถ่ายทอดกำลังจากปั้ม ถูกขับโดยมอเตอร์ไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์ไปยังอุปกรณ์ทำงานซึ่งก็คือกระบอกไฮดรอลิก (Hydraulics Cylinder) ในกระบอกไฮดรอลิก ซีลและแพ็กกิ้งทำหน้าที่เป็นตัวซีล (Seal) หรือป้องกันการรั่วของน้ำมันไฮดรอลิก ซึ่งถ้าไม่มีอุปกรณ์ตัวเล็ก ๆ ดังกล่าวแล้วการทำงานของ กระบอกไฮดรอลิกก็จะไม่สมบูรณ์และจะไม่สามารถถ่ายทอดกำลังได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
 ซีล (Seal)ซีลเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งของระบบไฮดรอลิกมีไว้สำหรับป้องกันการรั่วซึมของน้ำมันไฮดรอลิก และป้องกันน้ำและสิ่งสกปรกภายนอกเจือปนเข้ามาในระบบในขณะเดียวกัน ซีลมีหลายแบบทั้งแบบโอริง (O–Ring), ซีลน้ำมัน (Oil Seal), ปะเก็นและชุดแพ็คกิ้ง (Packing)
 แพ็คกิ้ง (Packing)ชุดแพ็คกิ้งเป็นตัวป้องกันการรั่วของน้ำมันออกจากระบบและป้องกันสิ่งสกปรกเข้ามาในระบบโดยผ่านช่องทางเล็ก ๆ ที่เกิดจากผลทางความร้อนในขณะที่อุปกรณ์ไฮดรอลิกทำงาน รูปทรงของแพ็คกิ้งที่ใช้อยู่ส่วนมากจะมีอยู่สามแบบคือ แบบตัวยู (U Shaped), แบบตัววี (V Shaped), และแบบตัวแอล (L Shaped)
 แพ็คกิ้งรูปตัวยู (U-Packing)
1) ใช้กับกับงานที่ผิวภายนอก หรือภายในมีการเคลื่อนที่
2) ใช้ได้กับแรงดันต่ำและสูง
3) มีความต้านทานต่อการเคลื่อนที่น้อย
 แพ็คกิ้งรูปตัววี (V-Packing)
1) ใช้กับกับงานที่ผิวภายนอกหรือภายในมีการเคลื่อนที่
2) ใช้ได้กับแรงดันต่ำและสูง
3) มีความต้านทานต่อการเคลื่อนที่มาก
 แพ็คกิ้งรูปตัวแอล (L-Packing)
1) ใช้กับกับงานที่ผิวภายนอกมีการเคลื่อนที่
2) ใช้ได้กับแรงดันต่ำ
3) มีความต้านทานต่อการเคลื่อนที่น้อย



PNEUMATIC

นิวเมติกส์ Pneumatic
นิวเมติกส์มาจากคำศัพท์ภาษากรีกว่า“Pneuma” หมายถึงหายใจหรือลมแต่ในปัจจุบันหมายถึงการนำลมอัดไปใช้กับเครื่องจักรกลในงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการนำมาใช้ขับเคลื่อนและควบคุมอุปกรณ์หรือเครื่องจักรกลต่างๆที่ใช้ลมเป็นต้นกำเนิดกำลังในการทำงาน





ข้อดีของระบบนิวเมติก
  • ทนต่อการระเบิด ไม่มีอันตรายจากการระเบิดหรือติดไฟ อุปกรณ์ราคาไม่แพง
  • รวดเร็ว ลูกสูบมีความเร็วในการทำงาน1 ถึง 2 m/s ถ้าเป็นลูกสูบแบบพิเศษสามารถทำงานได้ถึง 10 m/s
  • การส่งถ่ายง่าย สามารถเดินท่อในระยะทางไกลได้ และลมที่ใช้แล้วไม่ต้องนำกลับ สามารถปล่อยทิ้งออกสู่บรรยากาศได้เลย(เป็นระบบเปิด)
  • การเตรียมและรักษาง่าย สามารถอัดลมไว้ในถึง เพื่อนำไปใช้งานได้ต่อเนื่อง
  • ความปลอดภัย อุปกรณ์ที่ใช้กับระบบนิวเมติก จะไม่เกิดการเสียหายจากงานที่เกินกำลัง
  • สะอาด นิวเมติกมีความสะอาด ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้สะอาดหมดจด
  • โครงสร้างง่ายต่อการใช้และดูแล

ข้อเสียของนิวเมติก
  • นิวเมติกสามารถอัดตัวได้ ทำให้การเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ไม่สม่ำเสมอ
  • มีความชื้น เมื่อเย็นตัวจะเกิดการกลั่นตัวของหยดน้ำในถังเก็บลมและท่อลม
  • ต้องการเนื้อที่มาก เมื่อต้องการใช้แรงมากต้องใช้กระบอกสูบขนาดใหญ่
  • มีเสียงดัง เมื่อมีการระบายลมออกจากอุปกรณ์ จำเป็นต้องใช้ตัวเก็บเสียง
  • ความดันเปลี่ยนแปลงได้ ความดันของลมจะเพิ่มขึ้นและลดลง เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง

ปัจจัยในการเลือกใช้งานระบบนิวเมติกและไฮดรอลิก
  • ระดับของกำลัง ระบบนิวเมติกส์ให้กำลังอยู่ระหว่าง 0.25~1.5 แรงม้า ส่วนไฮดรอลิกให้กำลังของนิวเมติกสามารถกระจายให้อุปกรณ์ทำงานได้หลายจุด แต่ไฮดรอลิกทำงานได้จุดเดียวเนื่องจากเป็นระบบปิด
  • ระดับเสียง นิวเมติกจะมีที่เก็บเสียง จึงเงียบกว่าที่แรงม้าเท่ากัน เนื่องจากปั้มน้ำมันจะต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา
  • ความสะอาด นิวเมติกจะสะอาดกว่าไฮดรอลิกส์
  • ความเร็ว นิวเมติกจะทำงานได้เร็วกว่าไฮดรอลิกที่กำลังน้อย
  • ต้นทุนการทำงาน ของไฮดรอลิกส์จะต่ำกว่า
  • ต้นทุนขั้นแรก อุปกรณ์นิวเมติกจะราคาต่ำกว่า
  • ความแข็งแรง ไฮดรอลิกจะแข็งแรงกว่า
  • การควบคุมตำแหน่ง แม้ไฮดรอลิกจะเคลื่อนที่ได้ช้ากว่า แต่จะมีความแม่นยำในการหยุดมากกว่า



HYDRAULIC 

ไฮดรอลิค Hydraulic
คือ ระบบการส่งกำลังหรือควบคุมกำลัง โดยใช้ของเหลวเป็น
ตัวพากำลังหรือส่งสัญญาณควบคุมไปยังจุดหมายที่ต้องการ 









ข้อดีของระบบไฮดรอลิก
  • สามารถส่งกำลังได้มาก โดยใช้อุปกรณ์ขนาดเล็ก
  • สามารถควบคุมการทำงานได้ง่าย
  • มีคุณสมบัติหล่อลื่นอยู่ในตัวเอง
  • เมื่อเกิดความร้อนขึ้นในระบบ น้ำมันจะเป็นตัวพาความร้อนออกไป
  • อายุการใช้งานนาน
ข้อเสียของระบบไฮดรอลิก
  • พลังงานไฮดรอลิกไม่พร้อมที่จะใช้งานทันที
  • อุปกรณ์ที่ใช้งานต้องผลิตขึ้นอย่างละเอียด ทำให้ราคาแพง
  • เกิดมลภาวะ เมื่อเกิดการรั่วของน้ำมัน
  • การบำรุงรักษาและตรวจซ่อมค่อนข้างยุ่งยาก
  • มีโอกาสเสียหาย แตกหัก และติดไฟได้




การทำงานของออยซีล(Oil Seal)

    จะถูกประกอบอยู่ในชิ้นส่วนเครื่องจักรกลที่เป็นจุดสัมผัสเคลื่อนที่ 
โดยการสวมเข้ากับเพลาให้ยางขอบซีลหลัก(Elastomeric Sealing) 
สัมผัสกับเพลา และโครงซีล(Metal Case)ยึดติดแน่นกับเฮ้าซิ่ง(Housing)
ซึ่งออยซีล(Oil Seal) จะปิดกันน้ำมัน, จารบี, สารหล่อลื่น ฯ ที่อยู่ระหว่าง
ตลับลูกปืนกับออยซีล(Oil Seal)  กันไม่ให้รั่วไหลออกด้านนอก และป้องกันฝุ่นผง,
สิ่งสกปรก,น้ำ ฯ ไม่ให้เข้าสู่ภายในด้วยเช่นกันเครื่องจักรกลหรือกลไกต้องการ
ให้เกิดการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมทั้งอายุการทำงานที่ใช้ยาวนาน
อย่างเหมาะสม ออยซีล(Oil Seal)จะสัมผัสกับเพลาตลอดเวลาทั้งขณะที่
เพลาหยุดนิ่งและเพลาหมุนฉะนั้น หากมีการรั่วซึมของน้ำมันหรือสารหล่อลื่นอื่นๆ
 รวมทั้งฝุ่นสิ่งสกปรกเข้าไปได้ จะทำให้เครื่องจักรสะดุดเดินไม่เรียบ เสียหายก่อน
ถึงเวลาอันควร จึงจำเป็นต้องมีออยซีล(Oil Seal) เพื่อช่วยลดปัญหาดังกล่าว..
วัสดุที่ใช้ผลิตเป็นส่วนประกอบออยซีล(Oil Seal Material)

1.ยางขอบซีลหลัก (Elastomeric Sealing Material)
วัสดุที่นำมาผลิตใช้ผลิตยางขอบซีลหลัก(Sealing Material)ในออยซีล
(Oil Seal)จะมีการใช้อยูด้วยกันหลายชนิดแต่ที่นิยมใช้กันมากในชิ้นส่วน
เครื่องจักรกลทั่วๆไป ก็มีไม่กี่ชนิด ส่วนชนิดที่ต้องการความพิเศษมากๆก็
จะถูกผลิตและนำไปใช้เฉพาะทาง(Special List) เท่านั้นแต่ราคาก็จะสูงไป
ด้วยเช่นกัน  วัสดุที่นิยมกันพอสรุปได้ดังนี้ ..

    NBR ความต้านทานต่อน้ำมันและความร้อนระดับหนึ่งในช่วงอุณหภูมิ 
-40 °C ถึง 120 °C (oil) หรือ 90°C(water) ขณะเดียวกันยังมีความยืดหยุ่น
และมีความต้านทานต่อแรงกดบีบอัด ยางไนไตรยังมีคุณสมบัติเชิงกลที่
ดีกว่าเมื่อเทียบกับยางชนิดอื่น ๆ และมีความต้านทานการสึกหรอสูง จึงนิยมใช้กันมาก

    EPDM กันรั่วซึมในของเหลวไฮดรอลิคส์ และในระบบเบรก
  มีช่วงอุณหภูมิการทำงานในวงกว้าง  -65 °F ถึง 300 °F (-55 °C ถึง150 °C)
 นอกจากนี้นี้ยังใช้ในการอบไอน้ำและอุณหภูมิที่ต่ำกว่าการใช้งาน
  ที่อุณหภูมิปรกติด้วย

   SILICONE สภาวะความเย็นได้ดีที่ -75 °F (-59 °C) เมื่อเทียบกับซิลิโคน
 มีช่วงอุณหภูมิที่กว้างที่ในช่วงอุณหมูมิ 350 °F(180°C)ถึง 100 °F(38°C) 
ซึ่งใช้งานได้อย่างยอดเยี่ยมสำหรับงานแรงดันต่ำในระบบน้ำมันเชื้อเพลิง 
และสภาพอากาศที่เย็นจัดๆ ได้เป็นอย่างดี

  2.โครงซีล (Metal Case Material)โครงซีลเหล็ก(Steel Case )
เป็นโครงซีลที่ผลิตจากเหล็กรีดเย็น เพื่อความแข็งแรงของโครงซีล
และให้ความคงทนต่อการใช้งาน โดยทั่วไปออยซีล(Oil Seal)
จะใช้โครงเหล็กสำหรับงานในเครื่องจักรทั่วไปที่ใช้ในสภาพสิ่งแวดล้อมปรกติ
 
  3.สปิงกด(Garter Spring)สปริงกดจะทำหน้าที่ในการเพิ่มแรงกด
ในแนวรัศมีของเพลาเพิ่มความสามารถของยางขอบซีลหลักให้ป้องกัน
การรั่วซึมของน้ำมัน หรือสารหลอลื่นอื่นๆ สปริงกด(Garter Spring)
จะผลิตมาจากลวดปริงตามมาตรฐานที่กำหนดให้มีความสัมพันธ์กับ
ขนาดของเพลาและแรงในแนวรัศมีที่ต้องการกดยางขอบซีลหลัก 
ชนิดของการออกแบบ


 
 
 
 
 
ออยซีล type A
เป็นซีลที่มีของเหล็ก 2 ชั้น ส่วนมากใช้กับแกนที่มีขนาดใหญ่กว่า 150 มม. หรือกับแกนขนาดเล็กที่ต้องการความแข็งแรงมาก เช่น
-      SA : ลิฟเดียวสปริงหนึ่งอันใช้ในสภาพแวดล้อมทีมีแรงดันต่ำและไม่มีฝุ่นมีขอบเหล็ก 2 ชั้น
-      TA : ลิฟคู่มีสปริงลิฟซีลตัวหลักทำหน้าที่ซีลของเหลวด้านในลิฟด้านนอกทำหน้าที่กันฝุ่น ซีลที่มีขอบเหล็ก 2 ชั้น
-      VA : ลิฟเดี่ยวไม่มีสปริง ลิฟซีลทำหน้าที่ซีลของเหลวด้านใน เหมาะสำหรับใช้กันการรั่วซึมของจารบี มีขอบเหล็ก 2 ชั้น
ออยซีล type B
เป็นซีลที่มีขอบเหล็กด้านนอกเป็นเหล็กออกแบบโดยด้านหน้ามีมุมเพื่อความง่ายต่อการสวมใส่ เช่น
-      SB : ลิฟเดี่ยวสปริงหนึ่งอัน ขอบด้านนอกเป็นเหล็กมีสปริงลิฟซีลทำหน้าที่ซีลของเหลวด้านใน
-      TB : ลิฟคู่มีสปริงลิฟซีลตัวหลักทำหน้าที่ซีลของเหลวด้านใน ลิฟด้านนอกทำหน้าที่กันฝุ่น
-      VB : ลิฟเดี่ยว ไม่มีสปริงลิฟซีลทำหน้าที่ซีลของเหลวด้านในเหมาะสำหรับใช้กันการรั่วซึมของจารบี
ออยซีล type C
เป็นซีลขอบมียางหุ้มเหล็ก ยางมีหน้าที่ช่วยป้องกันการเกิดสนิมและผุกร่อนของตัวซีล เช่น
-      SC : ลิฟเดี่ยวสปริงของมียางหุ้มเหล็ก
-      TC : ลิฟคู่มีสปริงของมียางหุ้มเหล็ก ลิฟซีลตัวหลักทำหน้าที่ซีลของเหลวด้านใน ลิฟด้านนอกทำหน้าที่กันฝุ่น
-      VC : ลิฟเดี่ยวไม่มีสปริงลิฟซีลทำหน้าที่ซีลของเหลวด้านในเหมาะสำหรับใช้กันการรั่วซึมของจารบี ขอบมียางหุ้มเหล็ก 
 
 



OIL SEAL
   


  ออยซีล คืออะไร
ซีลกันน้ำมัน (Oil Seal) เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรทำหน้าที่
กันของเหลวที่ใช้เป็นสารหล่อลื่นในส่วนที่มีการเคลื่อนตัวและ
เสียดสีของเครื่องจักรทำให้เครื่องจักรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และมีอายุการใช้งานยาวนานรวมถึงยังสามารถกันการรั่วของน้ำ,
 สารเคมี หรือ ป้องกันฝุ่นเข้าเครื่องจักร





โครงสร้างส่วนประกอบของออยซีล(Oil Seal)จะประกอบด้วย 3ส่วนสำคัญหลักๆ
  1. Elastomeric Sealing Matterial (ขอบซีลหลัก)
  2.  Metal Case (โครงซีล)
  3. Gartor Spring (สปริงกด)
    
 






 
 BACK UP RING
 

       Back Up Ring คือ แหวนรองที่จะถูกติดตั้งเพื่อป้องกันการไหลออกจากร่องของโอริง ภายใต้การทำงาน ส่วนมากมักจะผลิตด้วยวัสดุ PTFE หรือวัสดุพลาสติกวิศวกรรมอื่นๆ ( POM, NYLON , PPE) หรือ ยังสามารถประยุกต์ใช้กับแหวนรองยาง( NBR , VITON , EPDM) ได้อีกด้วย 
นอกจากนี้ เรายังสามารถผลิต ตามความต้องการของลูกค้า (ตามขนาด , วัสดุ )
***
ไม่จำกัดจำนวนขั้นต่ำในการสั่งทำ***
สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่...
โทร. 02-1717648 แฟ็กซ์ 02-1717650อีเมล์ sales@srksealing.com

V-ring







  V-ring คือ ซีลยางที่รูปแบบเฉพาะตัว ซึ่งออกแบบหน้าตัดคล้ายตัววี ใช้งานสำหรับเพลาหมุนจะถูกประกอบรัดแน่นที่เพลา โดยที่ขอบซีล(Lip) จะสัมผัสและเสียดสีที่หน้าแปลนโดย V-Ring จะหมุนไปพร้อมกับเพลา และยังสามารถประกอบร่วมกับออยซีล เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันฝุ่นได้ดีอีกด้วย 






สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่...
โทร. 02-1717648 แฟ็กซ์ 02-1717650  อีเมล์ sales@srksealing.com