PNEUMATIC
นิวเมติกส์ Pneumatic
นิวเมติกส์มาจากคำศัพท์ภาษากรีกว่า“Pneuma” หมายถึงหายใจหรือลมแต่ในปัจจุบันหมายถึงการนำลมอัดไปใช้กับเครื่องจักรกลในงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการนำมาใช้ขับเคลื่อนและควบคุมอุปกรณ์หรือเครื่องจักรกลต่างๆที่ใช้ลมเป็นต้นกำเนิดกำลังในการทำงาน
ข้อดีของระบบนิวเมติก
- ทนต่อการระเบิด ไม่มีอันตรายจากการระเบิดหรือติดไฟ อุปกรณ์ราคาไม่แพง
- รวดเร็ว ลูกสูบมีความเร็วในการทำงาน1 ถึง 2 m/s ถ้าเป็นลูกสูบแบบพิเศษสามารถทำงานได้ถึง 10 m/s
- การส่งถ่ายง่าย สามารถเดินท่อในระยะทางไกลได้ และลมที่ใช้แล้วไม่ต้องนำกลับ สามารถปล่อยทิ้งออกสู่บรรยากาศได้เลย(เป็นระบบเปิด)
- การเตรียมและรักษาง่าย สามารถอัดลมไว้ในถึง เพื่อนำไปใช้งานได้ต่อเนื่อง
- ความปลอดภัย อุปกรณ์ที่ใช้กับระบบนิวเมติก จะไม่เกิดการเสียหายจากงานที่เกินกำลัง
- สะอาด นิวเมติกมีความสะอาด ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้สะอาดหมดจด
- โครงสร้างง่ายต่อการใช้และดูแล
| |
|
|
ข้อเสียของนิวเมติก
- นิวเมติกสามารถอัดตัวได้ ทำให้การเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ไม่สม่ำเสมอ
- มีความชื้น เมื่อเย็นตัวจะเกิดการกลั่นตัวของหยดน้ำในถังเก็บลมและท่อลม
- ต้องการเนื้อที่มาก เมื่อต้องการใช้แรงมากต้องใช้กระบอกสูบขนาดใหญ่
- มีเสียงดัง เมื่อมีการระบายลมออกจากอุปกรณ์ จำเป็นต้องใช้ตัวเก็บเสียง
- ความดันเปลี่ยนแปลงได้ ความดันของลมจะเพิ่มขึ้นและลดลง เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง
| |
|
|
ปัจจัยในการเลือกใช้งานระบบนิวเมติกและไฮดรอลิก
- ระดับของกำลัง ระบบนิวเมติกส์ให้กำลังอยู่ระหว่าง 0.25~1.5 แรงม้า ส่วนไฮดรอลิกให้กำลังของนิวเมติกสามารถกระจายให้อุปกรณ์ทำงานได้หลายจุด แต่ไฮดรอลิกทำงานได้จุดเดียวเนื่องจากเป็นระบบปิด
- ระดับเสียง นิวเมติกจะมีที่เก็บเสียง จึงเงียบกว่าที่แรงม้าเท่ากัน เนื่องจากปั้มน้ำมันจะต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา
- ความสะอาด นิวเมติกจะสะอาดกว่าไฮดรอลิกส์
- ความเร็ว นิวเมติกจะทำงานได้เร็วกว่าไฮดรอลิกที่กำลังน้อย
- ต้นทุนการทำงาน ของไฮดรอลิกส์จะต่ำกว่า
- ต้นทุนขั้นแรก อุปกรณ์นิวเมติกจะราคาต่ำกว่า
- ความแข็งแรง ไฮดรอลิกจะแข็งแรงกว่า
- การควบคุมตำแหน่ง แม้ไฮดรอลิกจะเคลื่อนที่ได้ช้ากว่า แต่จะมีความแม่นยำในการหยุดมากกว่า
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น